Devahoy Logo
PublishedAt

Utilites

Homebrew คืออะไร? + สอนวิธีใช้งาน

Homebrew คืออะไร? + สอนวิธีใช้งาน

Homebrew คืออะไร?

Homebrew จากคำนิยามของมันคือ “The missing package manager for macOS” เป็น Package Manager ตัวหนึ่งซึ่งช่วยให้เราทำการจัดการกับโปรแกรมต่างๆได้ง่ายขึ้น ทั้งการติดตั้ง ลบโปรแกรมต่างๆ สามารถใช้งานได้แค่บน Mac OS เท่านั้น

ซึ่งโดยปกติแล้ว หากใครเคยใช้ Linux พวกตระกูล Ubuntu ก็จะคุ้นเคยกับคำสั่ง apt-get install นั้นแหละครับ หน้าที่เดียวกันเลย

ขั้นตอนการติดตั้ง

ทำการติดตั้งได้ง่ายๆเลย โดยการเปิด Terminal ขึ้นมา (เผื่อใครไม่รู้จัก Terminal สามารถพิมพ์ค้นหาจากโปรแกรม Spotlight ได้เลย)

แล้วทำการพิมพ์คำสั่งด้านล่างเพื่อติดตั้งได้เลย

Terminal window
/usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)"

Homebrew จะถูกติดตั้งไว้ที่ /usr/local และ Package ที่เราติดตั้งผ่าน brew จะอยู่ที่ /usr/local/Cellar

เมื่อเรามี Homebrew บนเครื่องเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเมื่อต้องการติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติม ก็ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากหาไฟล์ .dmg เพื่อทำการติดตั้ง ใช้ brew install จบเลย

หากใครติดตั้งไม่ผ่าน หรือตอนติดตั้งมี Popup ให้ Install XCode ก็ทำการ Install ได้เลย xcode-select --install

วิธีใช้งาน

วิธีการใช้งาน Homebrew นั้นง่ายแสนง่ายครับ เพียงแค่ ใช้คำสั่ง brew OPTION เช่น

ติดตั้งโปรแกรม

Terminal window
$ brew install PACKAGE_NAME

ตัวอย่างการติดตั้ง Package จะใช้คำสั่ง brew install ตามด้วยชื่อ Package ที่เราต้องการ เช่น

ติดตั้ง Node.js บน Mac OS X ง่ายๆด้วย

Terminal window
$ brew install node

ค้นหาโปรแกรม

หากว่าเราไม่แน่ใจว่าโปรแกรมที่เราต้องการจะมีอยู่ใน Homebrew หรือไม่ เราสามารถทำการค้นหาได้ด้วยคำสั่ง

Terminal window
$ brew search PACKAGE

เช่นลองค้นหาก docker ดูซิว่ามีมั้ย

Terminal window
$ brew search docker
boot2docker docker-cloud docker-machine docker-machine-parallels
docker docker-compose docker-machine-driver-xhyve docker-swarm
docker-clean docker-gen docker-machine-nfs
homebrew/emacs/dockerfile-mode Caskroom/cask/docker
Caskroom/cask/docker-toolbox Caskroom/versions/docker-beta

โชว์รายชื่อโปรแกรม

หรือต้องการดูรายชื่อ Package ที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องก็สามารถดูได้ด้วยคำสั่ง

Terminal window
$ brew list

อื่นๆ

คำสั่งอื่นๆ ก็จะมี ตรวจสอบว่ามีโปรแกรมหรือ Package อะไรของเราเสียหาย link ผิดหรืออะไรก็ตาม brew ก็จะแจ้งเตือนเรา

Terminal window
$ brew doctor

อัพเดทเวอร์ชั่นของ brew ด้วย

Terminal window
$ brew update

Upgrade version ของโปรแกรมที่เราต้องการ ด้วย

Terminal window
$ brew upgrade PACKAGE_NAME

สุดท้ายหากอ่าน Manual ของ Homebrew ก็สามารถพิมพ์คำสั่งนี้ได้

Terminal window
$ brew help

หรือ

Terminal window
$ man brew

Reference

Authors
avatar

Chai Phonbopit

เป็น Web Dev ในบริษัทแห่งหนึ่ง ทำงานมา 10 ปีกว่าๆ ด้วยภาษาและเทคโนโลยี เช่น JavaScript, Node.js, React, Vue และปัจจุบันกำลังสนใจในเรื่องของ Blockchain และ Crypto กำลังหัดเรียนภาษา Rust