เริ่มต้นใช้งาน MongoDB ด้วย Atlas ผ่านหน้าเว็บ Atlas UI

MongoDB Aug 28, 2023

แนะนำการใช้งาน MongoDB ผ่าน Cloud ด้วยการใช้ Atlas ข้อดีคือ ไม่ต้องทำการติดตั้ง MongoDB บนเครื่องของเรา

วิธีการใช้งาน Atlas นั้น ทำได้หลักๆ 2 ช่องทางคือ

  1. Atlas UI - จัดการ MongoDB ผ่านหน้าเว็บของ Mongo โดยตรง
  2. Atlas CLI - เป็น Command Line ให้เราจัดการผ่าน Command Line

สำหรับบทความนี้จะแนะนำเป็น Atlas UI ใช้งานผ่านหน้าเว็บกันก่อนนะครับ

MongoDB Atlas Database | Multi-Cloud Database Service
The multi-cloud database service at the heart of our developer data platform that accelerates and simplifies how you build with data. Try MongoDB Atlas today!

Step 1 - สร้าง Account

หากยังไม่มี Account ให้ทำการสมัครก่อนครับ และถ้าใครมี Account แล้ว สามารถกด Sign In เข้าใช้งานได้เลย

Cloud: MongoDB Cloud

ตัว Mongo Atlas นั้นเป็น Cloud Database ที่ให้เราสามารถใช้งานได้ฟรี (แบบ Plan เริ่มต้น)

Step 2 - Create Organization

เริ่มต้น ให้สร้าง Organization ขึ้นมาก่อน ไปที่เมนูด้านซ้าย เลือก Create Organization ทำการตั้งชื่อ และกด Next

หน้าต่อไป ติ๊กถูก Require IP Access List for the Atlas Administration API ที่เป็น default เอาไว้ กด Create Organization

Step 3 - New Project

กดสร้างโปรเจ็ค โดยเลือก New Project ทำการตั้งชื่อ และกด Next

หากต้องการเพิ่มสมาชิก ก็กด Invite ได้ แต่ถ้าไม่ต้องการ ก็กด Create Project

Step 4 - Create Database

ต่อมาทำการสร้าง Database โดยกด Create จากหน้าแรกได้เลย หรือกดที่แท็ป Database ด้านซ้ายมือ และเลือก Build a Database

หน้าเลือกชนิด Database ให้ทำการเลือก

  • Plan เลือกเป็น M0 เพราะว่าฟรี
  • Provider - เลือกเป็น AWS
  • Region - เลือกเป็น Singapore (ap-southeast-1) เพราะใกล้ไทยสุด
  • Name - เราจะตั้งชื่อก็ได้ ถ้าไม่ตั้งก็ชื่อ default ว่า Cluster0

จากนั้นกด Create

จากนั้น จะเป็นหน้า Security Quickstart ให้เราเลือกว่าจะ Authenticate แบบไหน เลือกแบบ Username และ Password ครับ

จากนั้นก็ทำการกำหนด username ของเรา และ Autogenate Pasword ซะ จากนั้นกด Create User

ในส่วนของ IP Access List ให้ใส่ IP ของเครื่องเรา (ที่อนุญาตให้ access MongoDB ได้) หรือถ้าไม่รู้ก็กด Add My Current IP Address

สุดท้าย กด Finish and Close

Step 5 - Connect your Database

ต่อมา ลองทำการต่อ MongoDB ของเรา สามารถต่อได้หลายวิธีเลยครับ เช่น

  • ใช้ Native Drivers ต่างๆ เช่น Node.js , Java, Python
  • ใช้ MongoDB for VS Code
  • ใช้ Compass - ที่เป็น MongoDB Client GUI
  • ใช้ Mongo Shell - อ่านเพิ่มเติมได้บทความนี้ครับ
หัดใช้งาน MongoDB ตอนที่ 1 - ใช้งาน Mongo Shell
วิธีการใช้งาน MongoDB เบื้องต้น สำหรับบทความนี้ เราจะพูดถึงการใช้ MongoDB ผ่าน MongoShell กันนะครับ เราจะใช้ MongoShell (เป็น Command Line) ในการต่อ Database เข้าถึง Collections และ CRUD (Query / Insert / Update / Delete) ข้อมูลกันนะครับ วิธีการติดตั้ง MongoDB

ตัวอย่างการ Connect ผมจะยกตัวอย่างเป็น MongoDB for VS Code ละกันครับ เพราะง่าย และให้เห็นภาพ

ขั้นแรก ทำการติดตั้ง Extensions MongoDB for VS Code

เมือติดตั้งเสร็จ ที่แท็ปด้านซ้ายของ VS Code ก็จะมี MongoDB โผล่ขึ้นมา กดเลือก Add Connection จากนั้นเลือก Connection with Connection String เพื่อนำค่ามาใส่ ซึ่งค่าที่จะใส่เนี่ย เราจะได้จาก กลับไปหน้า Atlas UI ครับ

กด Connect เลือก MongoDB for VS Code จากนั้นก็ก็อปปี้ String มาใช้ครับ

mongodb+srv://<user>:<password>@cluster0.anz9st9.mongodb.net/

โดยเปลี่ยน user และ password เป็นค่าที่เราทำการตั้งและ generate ในตอนแรก นำไปใส่ใน VS Code ครับ

ซึ่งตัว Connect String รูปแบบมันคือแบบนี้

รูปจาก https://www.mongodb.com/docs/drivers/node/current/fundamentals/connection/connect/#std-label-node-connect-to-mongodb

เมื่อ Connect ได้แล้ว เราจะเห็นว่ามี db ชื่อ admin และ local แสดงว่าเรา Connect เข้า Mongo Atlas เราได้แล้ว

หากใครมีปัญหา เข้าไม่ได้ แสดงว่าอาจจะตั้งค่า Network Access ใส่ IP เครื่องเราไม่ถูกก็ได้ ลองเช็คดู หรือลองปล่อยให้เข้าได้จากทุก IP (ถ้าใช้จริง ไม่ควรเปิด) เพื่อลองเทสได้ โดยไปที่

Network Access -> เลือก Allow Access From Anywhere และให้มัน Delete ภายใน 6 ชม. ไว้แบบนี้
เลือก Allow Access from anywhere เพื่อลองเทส กรณีเชื่อมต่อไม่ได้

ทีนี้ลอง เปิด VS Code และทำการ Connect ให้อีกที


หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับมือใหม่ ที่ลองใช้งาน MongoDB นะครับ เป็นการแนะนำ Mongo Atlas วิธีการสร้าง MongoDB และการต่อเข้า DB เบื้องต้น ให้เราเห็นภาพการสร้าง DB และการต่อ DB นั่นเอง

Happy Coding ❤️

Tags

Chai Phonbopit

เป็น Web Dev ทำงานมา 10 ปีหน่อยๆ ด้วยภาษา JavaScript, Node.js, React, Vue และปัจจุบันกำลังสนใจ Web3, Crypto และ Blockchain เขียนบล็อกที่ https://devahoy.com