สอนสร้าง Theme Ghost เพื่อไปขาย Themeforest ตอนที่ 5 (ตอนสุดท้าย)
สวัสดีครับ นี้เป็น Part 5 Part สุดท้ายของซีรีย์ สร้าง Ghost Theme กันแล้วนะครับ สำหรับ Part นี้จะเป็นในส่วนของ Additional เสริมต่างๆ เช่น
- การใส่ Disqus Comment, Facebook Comment, Google+ หรือ แม้แต่ Muut Comment
- การใส่ Syntax Highlighter ให้กับโค๊ดของเรา เป็นต้น
สำหรับ Part อื่นๆ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่าน เชิญอ่านตามลิงค์ข้างล่างครับ
Table of Contents
- Part 1 : Overview and Setup Ghost
- Part 2 : Create Theme, Index, Post
- Part 3 : Default Template & Partial
- Part 4 : Navigation & Pagination
- Part 5 : Additional (Comment System)
- Source Code on Github
Disqus
สำหรับการใส่ Disqus Comment เริ่มแรก ต้องเข้าเว็บไซต์ https://disqus.com/admin/create/ เพื่อสร้าง Disqus ของเราขึ้นมาก่อน assume ว่ามีแล้วละกันนะครับ ไม่มีก็ไปสร้างเอานะ
หากมีอยู่แล้ว เข้าไปก็อปโค๊ดในส่วน Universal Code จากหน้า https://your-blog-name.disqus.com/admin/settings/universalcode/ หรือใช้โค๊ดข้างล่างก็ได้ แต่อย่าลืมเปลี่ยนชื่อ disqus_shortname
ด้วยละ
สร้างไฟล์ comment_disqus.hbs
ขึ้นมาเซฟไว้ที่โฟลเดอร์ partials
จากนั้นที่ไฟล์ post.hbs
ก็แทรก comment ที่เราต้องการให้แสดงได้เลย ใส่ไว้หลังลูป {{/post}}
เมื่อเวลาเข้าหน้าโพส ก็จะเห็น Comment อยู่ที่ใต้บทความดังนี้
สำหรับการใส่ Facebook Comment ใช้วิธีคล้ายๆกัน คือ สร้างไฟล์ในโฟลเดอร์ partials
ชื่อว่า comment_facebook.hbs
จากนั้นเข้าไปหน้า Facebook Developer แล้วทำการ Get Code ออกมา
เช่น
ทำการเปลี่ยน data-href
เป็น Post URL จริงๆ และจัด div row และ container ให้ใหม่ รวมถึงเปลี่ยน appId เป็นไอดีของแอพตัวเองด้วยนะครับ ดังนี้
{{@blog.url}}{{url}}
: ส่วนนี้คือ Global Helper ที่ระบุ URL ของ Blog + Url ของ Post
ในหน้า post.hbs
ก็แทรกโค๊ด {{> comment_facebook}}
แทน {{> comment_disqus}}
ได้เลย
เมื่อเวลาเข้าหน้าโพส ก็จะเห็น Comment อยู่ที่ใต้บทความดังนี้
Google Plus
สำหรับ Google Plus ก็สร้างไฟล์ comment_google_plus.hbs
และใส่โค๊ดด้านล่างนี้ลงไปได้เลย
เมื่อเวลาเข้าหน้าโพส ก็จะเห็น Comment อยู่ที่ใต้บทความดังนี้
Syntax Highlight
และสำหรับ Blog ที่ออกแนว Geek หรือสำหรับพวก Developer/Prgrammer ก็มักชอบที่แทรกโค๊ดลงไปในบทความ ฉะนั้น ใน่สวนนี้ก็จะใช้ Syntax Highligh มาช่วย โดยจะใช้ highlight.js ทำการดาวน์โหลดไฟล์ จากนั้นแตกไฟล์ highlight.pack.js
มาเซฟไว้ที่ assets/js
และ style เลือกมาซักอย่าง เซฟไว้ที่ assets/css
สำหรับผมเลือก github.css
เพิ่ม script ที่ไฟล์ default.hbs
ดังนี้
จากนั้นเปิดไฟล์ assets/js/clean-blog.js
ขึ้นมา ลบโค๊ดข้างในทั้งหมดทิ้งเลย (ในส่วน Contact Form ไมไ่ด้ใช้ ก็เลยไม่เอา) จากนั้นแทนที่ด้วยโค๊ดนี้
จะได้เป็น
มีในส่วนของ Navigation Slide Effect ของ Clean-Blog อยู่ด้วย ส่วนนี้ไ่ม่ได้ลบครับ แค่แทรกส่วนของ highlight.js ในส่วนท้ายของโค๊ด
เป็นการกำหนดว่า เมื่อโหลด DOM เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัว highlight.js จะดูว่า มีแท็กอยู่ในรูปแบบ
หรือไม่ ถ้ามีมันก็จะ highlight ให้
หมดแล้ว สำหรับบทสอน Ghost Theme Development ทั้ง 5 ตอน หลังจากผ่านมา 5 ตอน ตอนนี้ Theme ของเรามีหน้าตาแบบนี้
ต้องขอบคุณ Theme สวยๆ จากที่นี่ด้วย Start Bootstrap : Clean Blog
สุดท้าย หวังว่าจะได้เห็น Ghost Theme สวยๆ จากคนไทย ไปขายอยู่ใน Themeforest เยอะๆนะครับ :D Source Code ทั้งหมดอยู่ใน Github ไปดูได้ จะ Folk จะ Modified ได้ตามสะดวกเลยครับ
- Authors
-
Chai Phonbopit
เป็น Web Dev ในบริษัทแห่งหนึ่ง ทำงานมา 10 ปีกว่าๆ ด้วยภาษาและเทคโนโลยี เช่น JavaScript, Node.js, React, Vue และปัจจุบันกำลังสนใจในเรื่องของ Blockchain และ Crypto กำลังหัดเรียนภาษา Rust